หมดกังวลเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อนด้วยการใช้เครื่องมือก่อนการประมวลผลใหม่จาก Moldex3D

on 10/07/2020
Cloud Tsai ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ Moldex3D

ขั้นตอนก่อนการประมวลผลในการจำลองการขึ้นรูปสำหรับรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อนมักใช้เวลานาน ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้:

  1. ไฟล์รูปทรงเรขาคณิต (Geometry file) จะถูกส่งออกจากซอฟต์แวร์ CAD ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ฝ่ายการออกแบบ โรงงานแม่พิมพ์ การจัดจ้างผู้ผลิตจากภายนอก และโรงงานประกอบ ไฟล์รูปทรงเรขาคณิตเหล่านี้ที่จะต้องส่งถึงลูกค้าจึงมีการถ่ายโอนและส่งผ่านหลายครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อบกพร่องทางเรขาคณิตได้ (Geometric defects)
  2. นอกจากข้อบกพร่องทางเรขาคณิตแล้ว คุณสมบัติทางเรขาคณิตที่ซับซ้อนยังสามารถทำให้เกิดปัญหาในการสร้างเมช(Mesh)ด้วย เช่นองค์ประกอบที่มีมุมแหลมเกินไป ดังนั้นจึงจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดคุณภาพของเมชที่ไม่ดีซึ่งนำมาซึ่งความล้มเหลวในการจำลองการขึ้นรูป
  3. รันเนอร์ที่ซับซ้อนหรือท่อหล่อเย็นมักถูกนำมาใช้ในกระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ที่แม่นยำเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การออกแบบรันเนอร์และท่อหล่อเย็นเหล่านี้ไม่สามารถจำลองผ่านองค์ประกอบแบบบีม (beam) ที่สร้างขึ้นในขั้นตอนก่อนการประมวณผลได้ ดังนั้นจึงควรใช้แบบจำลองทางเรขาคณิตในการจำลอง

โดยปกติในขณะที่เผชิญกับปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ใช้จะต้องทำการปรับเปลี่ยนทั้งรูปทรงเรขาคณิต เมช หรือแบบของท่อหล่อเย็น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการสร้างเมช เช่น การมีช่องทางเข้าและทางออกของท่อหล่อเย็นที่เหมาะสมกับชิ้นงาน ขั้นตอนก่อนการประมวลผลนี้ต้องใช้เวลามากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของไฟล์เมชที่เหมาะสำหรับการจำลอง

เพื่อลดภาระของผู้ใช้ในขั้นตอนก่อนการประมวลผล Moldex3D Studio ได้ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานก่อนการประมวลผลอย่างต่อเนื่องและสรรหาเครื่องมือมากมายสำหรับผู้ใช้เพื่อให้การประมวลผลรูปทรงเรขาคณิตของผลิตภัณฑ์และสร้างเมชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เครื่องมือหลักมีดังต่อไปนี้

การแก้ไขรูปทรงเรขาคณิต (Geometry Fixing)

เครื่องมือแก้ไขรูปทรงเรขาคณิตในแถบ Fix Geometry และ Geometry Defect Tree สามารถทำให้ขั้นตอนการประมวลผลรูปเรขาคณิตง่ายขึ้น

รูปที่ 1 ชุดแถบเครื่องมือสำหรับแก้ไขรูปทรงเรขาคณิต แถบแสดงข้อบกพร่องทางเรขาคณิต และฟังก์ชัน CAD

การซ่อมอัตโนมัติ (Auto Sew and Sew)

Moldex3D 2020 มีเครื่องมือซ่อมสองชิ้น เครื่องมือแรก Auto Sew เป็นเครื่องมือดั้งเดิมในการซ่อมพื้นที่ที่มีช่องโหว่ทั้งหมดโดยผู้ใช้สามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเองได้ คุณลักษณะการซ่อมแบบใหม่นี้ (Sew) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถซ่อมเฉพาะขอบที่ต้องการและกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ต่างกันในแต่ละบริเวณได้

การลบผิวและเติมผิว (Delete Face and Fill Face)

Moldex3D มีเครื่องมือ Delete Face และ Fill Face ให้ผู้ใช้สำหรับสร้างพื้นผิวรูปทรงเรขาคณิตที่ไม่ดีขึ้นมาใหม่ด้วยพื้นผิวโค้งที่มีคุณภาพดีขึ้น การใช้ Fill Face สร้างพื้นผิวขึ้นมาใหม่ผู้ใช้จะต้องเลือกเส้นโค้งหรือขอบของรูปเรขาคณิต (โดยปกติต้องเลือก 2 ถึง 4 เส้นขอบ) ดังนั้น Moldex3D Studio จึงมีเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับเส้นโค้งเช่น Extract Edge Curve, Join Curve และ Bridge Curve ในชุดแถบเครื่องมือซึ่งจะช่วยจัดการกับเส้นโค้งและสร้างพื้นผิวโค้ง

ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 2 เมื่อพื้นผิวมีข้อบกพร่อง ผู้ใช้สามารถลบพื้นผิวนั้นออกก่อนได้ (Delete Face) แต่จะเกิดขอบที่เป็นช่องโหว่มากกว่า 4 เส้น ดังนั้นเราจึงสามารถใช้เครื่องมือ Extract Edge Curve เพื่อดึงขอบเส้นโค้งและรวม (Join Curve) เข้ากับเส้นอื่นๆ จากนั้นใช้เครื่องมือ Bridge Curve เพื่อเชื่อมระหว่างสองเส้นขอบ และใช้เครื่องมือ Fill Face เพื่อสร้างพื้นผิวโค้งขึ้นใหม่ในขั้นตอนสุดท้าย

รูปที่ 2 การประยุกต์ใช้เครื่องมือ CAD ใหม่

ตัวชี้ตำแหน่งของรูปทรงเรขาคณิตและข้อบกพร่องที่เมช (The geometry & mesh defect navigator)

เครื่องมือชี้ตำแหน่งตัวใหม่ (รูปที่ 3 ด้านซ้าย) ในแถบ Geometry Defect Tree และ Mesh Defect Tree สามารถสลับระหว่างข้อบกพร่องต่างๆและซูมเข้าไปในตำแหน่งที่มีข้อบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว เมื่อองค์ประกอบเมชของรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อนมีขนาดใหญ่ ฟังก์ชันนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาตำแหน่งที่บกพร่องและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

Moldex3D Studio เพิ่มฟังก์ชันตรวจสอบการซ้อนทับกันของเมชที่พื้นผิว เครื่องมือนี้จะทำเครื่องหมายบนชิ้นส่วนที่มีข้อบกพร่องและแสดงเป็นข้อผิดพลาด (error) ผู้ใช้ต้องยืนยันและแก้ไขการซ้อนทับกันของเมชก่อนเพื่อให้สามารถสร้าง solid mesh ต่อไปได้ ดังแสดงในรูปที่ 3 (ขวา) หากไม่มีช่องว่างบนแผ่นแม่พิมพ์สำหรับท่อหล่อเย็นจะทำให้เกิดข้อบกพร่องจากการซ้อนทับกันอย่างรุนแรง ปัญหาจะถูกตรวจพบและแสดงบน Mesh Defect Tree

รูปที่ 3 เบราว์เซอร์แสดงและเช็คผลข้อบกพร่องของเมชใน Mesh Defect Tree

Moldex3D Studio รองรับท่อหล่อเย็นแบบผสมทั้งที่วาดโดยใช้เส้นและรูปทรงเรขาคณิต ผู้ใช้สามารถใช้ท่อหล่อเย็นที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตเพื่อทำการจำลองสำหรับท่อหล่อเย็นที่มีความซับซ้อนและใช้องค์ประกอบแบบบีม (beam) เพื่อให้ผู้อื่นปรับเปลี่ยนการออกแบบได้สะดวกมากขึ้น ตัวอย่างเช่นผู้ใช้สามารถปรับทางเข้าและทางออกของท่อหล่อเย็นให้เหมาะสมและชิดกับชิ้นงานที่สุดเพื่อให้สามารถสร้างเมชของทั้งแม่พิมพ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

รูปที่ 4 Moldex3D Studio รองรับท่อหล่อเย็นแบบผสม ทั้งที่วาดโดยใช้เส้นและรูปทรงเรขาคณิต

ยิ่งไปกว่านั้น Moldex3D Studio ได้ปรับปรุงฟังก์ชันมากมายสำหรับท่อหล่อเย็น รวมถึงการจัดระเบียบและการแสดงผลรูปแบบของท่อหล่อเย็นในแต่ละกลุ่มเพื่อแสดงข้อบกพร่องที่สำคัญและรายการตรวจสอบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ยังปรับปรุงคุณสมบัติของการกำหนดทางเข้าและทางออกโดยอัตโนมัติ

Moldex3D Studio 2020 มีเครื่องมือสำหรับขั้นตอนก่อนการประมวลผลที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้ในการประมวลผลรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อนและการสร้างเมชอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเพิ่มเครื่องมือแก้ไขรูปทรงเรขาคณิตสำหรับเส้นโค้งและพื้นผิวโค้งหลายแบบ และยังมีตัวชี้ตำแหน่งสำหรับข้อบกพร่องทางเรขาคณิตและเมชเพื่อค้นหาปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มคุณสมบัติท่อหล่อเย็นโดยรองรับท่อหล่อเย็นแบบผสม จัดระเบียบท่อหล่อเย็นให้เป็นกลุ่มและกำหนดทางเข้าและทางออกโดยอัตโนมัติ ด้วยความสามารถในขั้นตอนก่อนการประมวลของ Moldex3D ที่อัปเกรดแล้วจะช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างเมชสำหรับชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังสามารถลดต้นทุนและเวลาได้อีกด้วย


Test drive Moldex3D

Join the thousands of companies using Moldex3D

Talk to Sales

Schedule a product demo with our sales team